วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ปะการังอันดามัน หยุดตายแล้วหลังฝนตกต่อเนื่อง
ดร.นิศากร โฆษิตรัตน์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเล 2553 “ความหลากหลายทางชีวภาพทะเลในประเทศไทย : อุปสรรคและโอกาส” ซึ่งทางคณะกรรมการสมุทรศาสตร์ระหว่างรัฐบาล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัยต่างๆ รวม 16 องค์กร จัดขึ้น ที่จังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงสถานการณ์ปะการังฟอกขาวฝั่งทะเลอันดามันว่า
ในการประชุมวิชาการในครั้งนี้เรื่องปะการังฟอกขาว ถือว่าเป็นหัวข้อสำคัญที่จะหยิบมาพูดคุยกัน ซึ่งในสมัย 20-30 ปีที่ผ่านมา ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจอุณหภูมิน้ำในทะเลมาโดยตลอด พบว่า อุณหภูมิน้ำในทะเลเฉลี่ยอยู่ที่ไม่เกิน 28 หรือ 25 องศาเซลเซียส แม้แต่บางปีที่ประเทศไทยประสบปัญหาเรื่องของภัยแล้งอย่างรุนแรงก็ตาม
แต่มาในปีนี้พบว่าอุณหภูมิน้ำพุ่งสูงถึง 31-32 องศาเซลเซียส และที่สำคัญ ปะการังในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นปะการังที่อาศัยอยู่ในน้ำที่ไม่ลึกมาก ซึ่งแตกต่างกับปะการังน้ำลึกของออสเตรเลีย เพราะน้ำลึกๆ นั้น ลักษณะของน้ำจะเย็นเมื่อปะการังที่อยู่ในอุณหภูมิน้ำที่ร้อน 31-32 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าเป็นอุณหภูมิสูงมาก ทำให้ปะการังฟอกขาวได้ และถ้าเป็นนาน2-3 สัปดาห์ ก็จะทำให้ปะการังฟอกขาวตายได้ แต่อย่างไรก็ตาม ปะการังฟอกขาวถ้าเกิดไม่นานก็จะฟื้นกลับมาได้อย่างรวดเร็วภายใน 2-3 เดือน
ดร.นิศากร กล่าวต่อว่า สิ่งสำคัญในการดูแลเพื่อฟื้นฟูแนวปะการังที่เกิดการฟอกข่าวคือการไม่ไปรบกวนซึ่งปะการังฟอกขาวก็เหมือนกับปะการังป่วย เพราะฉะนั้นคนไม่ควรที่จะไปรบกวนปะการังเหล่านี้
ขณะที่ นายวรรณเกียรติ ทับทิมแสง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์การฟอกขาวของแนวปะการังในฝั่งทะเลอันดามันขณะนี้ได้หยุดการฟอกขาวลงแล้ว ส่วนอัตราการตายของปะการังฟอกขาวนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่และชนิดของปะการัซึ่งมีตั้งแต่ 5% จนถึง 50% แล้วแต่พื้นที่ของการเกิดและชนิดปะการังบางจุดตายน้อยบางจุดก็ตายมาก ซึ่งหลังจากที่มีมรสุมเข้าพื้นที่ฝั่งทะเลอันดมันมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องทำให้อุณหภูมิลงลงมาอยู่ในอัตราปกติ คือ 28 องศาเซลเซียส
โดยขณะนี้ก็ถือว่าอยู่ในช่วงของการฟื้นฟูปะการังที่เกิดการฟอกขาว โดยระยะเวลาในการฟื้นฟูก็ใช้เวลาแตกต่างกันบางจุดก็ที่ปะการังไม่ต่ายก็อาจจะใช้เวลาแค่ 2-3 เดือน แต่ที่ตายจำนวนมากก็อาจจะต้องใช้เวลานานถึง 3-4 ปี
สำหรับการดูแลแนวปะการังที่เสียหายนั้น ในส่วนของอุทยานตอนนี้ก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะเป็นช่วงที่มีการปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปใช้บริการอยู่แล้ว ส่วนที่อยู่นอกเขตทางสถาบันก็ได้จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ทำป้ายบอกเพื่อขอความร่วมมือผู้ประกอบการงดนำนักท่องเที่ยวเข้าไปดำน้ำในบริเวณที่ปะการังได้รับความเสียหายจากการฟอกขาว
รวมทั้งให้มีการควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าชมเพื่อไม่ให้เข้าไปในจำนวนที่มากเกินไปเพราะการเข้าไปจำนวนมากๆอาจจะทำให้แนวปะการังได้รับความเสียหายเพิ่มมากขึ้นได้
นายวรรณเกียรติ กล่าวต่อไปว่า จากการประชาสัมพันธ์ และขอความร่วมมือถือว่าในฝั่งทะเลอันดามันได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีเพราะทุกคนทราบอยู่แล้วว่าถ้าแนวปะการังได้รับความเสียหายก็จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวโดยเฉพาะการดำน้ำชมปะการัง
ข้อมูลจาก...ผู้จัดการ ออนไลน์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นทั่วไป