วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว เปิดให้เยี่ยมชมแล้ว ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก


เมื่อเวลา 09.00 น. วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554 ที่ พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วย นางนลินี อัครเดชา นายกเหล่ากาชาดจังหวัดภูเก็ต ร่วมรับประทานอาหารเช้า เพื่อพบปะปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นข้อราชการกับหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดภูเก็ต โดยมี หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ภาคเอกชน ในจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วม

นายสมบัติ อติเศรษฐ์ ประธานมูลนิธิกุศลสงเคราะห์จังหวัดภูเก็ต (ล๊อกเซียนก๊ก) กล่าวว่า การสร้างพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีคนจีนและประวัติศาสตร์ของโรงเรียนจีนในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากศิษย์เก่า พ่อค้า แม่ค้า ที่ได้ให้ข้อมูล ของคนจีน เพื่อรวบรวมมาอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ โดยใช้เวลาในการสร้างเป็นเวลา 4 ปี ส่วนงบประมาณการลงทุนทั้งหมด 16 ล้านบาท เริ่มทำการเปิดเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สำหรับพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวเปิดให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งได้รับการตอบรับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก โดยนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมอยากทราบถึงประวัติบุคคลสำคัญของคนภูเก็ต ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทางโรงแรม และทั่วการท่องเที่ยวช่วยกระจายข่าว ความนิยมจากคนไทยภาคอื่นๆ เพราะได้มีสารคดีต่าง ๆ ได้มาถ่ายที่นี้ และได้ไปลงตามสื่อต่าง ๆ วันนี้ถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่ได้ประชาสัมพันธ์ให้กับคนภูเก็ต และส่วนราชการเพื่อที่จะได้บอกต่อให้กับนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจต่อไป

สำหรับค่าเข้าเยี่ยมชมนักท่องเที่ยวเก็บคนละ 200 บาท และ ราคาคนไทยอยู่ที่คนละ 50 บาท ส่วนภายในพิพิธภัณฑ์ จะมีกิจกรรมตั้งแต่ คนจีนที่อพยพมาจากเมืองจีนเข้ามาทางภูเก็ตได้อย่างไร ส่วนใหญ่ เป็นคนมณฑลใด เข้ามาอยู่ในภูเก็ตและบุคคลเหล่านี้ ได้มีอยู่กี่ตระกูลใหญ่ๆ จนถึงวิธีชีวิตที่มาจากเมืองจีนมาถึงจังหวัดภูเก็ตได้อย่างไร ผ่านจุดตรวจคนเข้าเมืองได้อย่างไร จนถึงการรวบรวมคนจีนที่มาอยู่แล้ว มาอยู่เป็นชุมชนได้อย่างไร โดยอาศัยแซ่สมัยก่อน ซึ่งคนที่มาแล้วใช้แซ่อะไร และก็มีการอุปถัมภ์คนที่มาแล้วยังไม่เจอญาติจะช่วยอุปถัมภ์ให้ และมีการรวมกันเป็นสมาคมหรือศาลเจ้าในปัจจุบันที่ยังลงเหลืออยู่

อีกห้องจะเป็นประวัติศาสตร์ของคนที่ได้ทำคุณงามความดี ให้กับจังหวัดภูเก็ตโดยเฉพาะโรงเรียนจีนซึ่งได้ศิลาจารึกอยู่ที่ป้ายโรงเรียน ให้ทำประวัติเชิดชูบุคคลเหล่านั้น ถือว่าเป็นคนที่มีจิตใจดีสร้างการศึกษา ให้กับลูกหลาน อีกด้านหนึ่งจะเป็นประวัติศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ตกับประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ของประเทศจีนมาเยี่ยมภูเก็ตและได้เก็บรูปภาพไว้ จนถึงเรื่อง ของพระยารัษฎา ที่มาทำให้จังหวัดภูเก็ตนั้นเจริญรุ่งเรืองอย่างไร และอีกด้านเป็นประเพณีเหมืองแร่ซึ่งเป็นอีกส่วน และประเพณี การค้าขายของคนจีน อาทิ เสื้อผ้า ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีงานศพ อาหาร ขนม จนถึงอาคารต่าง ๆ ที่มีแบบชิโนโปตุกีส ที่ยังลงเลือกในภูเก็ต ของดั้งเดิมของคนจีนนี้ก็เป็นหลักใหญ่ที่เราได้เก็บรวบรวมมาอยู่ในพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว

ข้อมูลจาก...ส.ปชส.ภูเก็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นทั่วไป